โกลบวาล์ว (Globe Valve) เป็นวาล์วที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นวาล์วควบคุม (Control Valve)

โดยสามารถปรับปริมาณของของเหลวภายในระบบได้ ของเหลวจะไหลจากด้านล่างขึ้นบน ลิ้นวาล์วปิดจากบนลงล่างใช้ในการควบคุมการไหลเพราะมีการหักเหทิศทางการไหลของของไหลให้ขึ้นไปในแนวตั้งฉากจึงหมุนเปิดและปิดได้ง่ายกว่า

สามารถใช้กับระบบที่มีความแตกต่างความดันสูงมากๆได้แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนทิศทางการไหล ความดันลดที่ตกคร่อมโกลบวาล์วมากขึ้นตามโกลบวาล์วจึงนิยมใช้เป็นอย่างมากในงานที่ต้องควบคุมอัตราไหลของของไหล

ชนิดของโกลบวาล์ว มีทั้งหมด 2 ชนิด

  1. Single-Port
  2. Double-Port

1. Single Port Globe Valve แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด

1.1 คอมโพซิชั่น ดิสค์ (Composition Disc)

  • วัสดุที่ใช้ทำจะเป็น ยางไฟเบอร์ หรือ วัสดุผสมต่างๆ
  • นิยมใช้กับงานประเภท น้ำร้อนน้ำเย็นกรดด่าง
  • ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี
  • ไม่ค่อยต้านการไหล
1.2 คอนเวนชั่นแนล ดิสค์ (Conventional Disc)
  • วัสดุที่ใช้ทำจะเป็น เหล็กชุบ, แสตนเลสบราชเสตนไลท์
  • แข็งแรง เปิด-ปิดง่าย
  • ปิดได้แน่นโอกาสรั่วมีน้อย
  • นิยมใช้สำหรับงานที่มีอุณหภูมิสูงๆ หน้าวาล์ว บริเวณ Disc และ Seat จะเชื่อมพอกด้วยลวดโลหะแข็งพิเศษเสตลไลท์ (Satellite) ส่วน Body จะเป็นวัสดุแสตนเลสสตีล (Stainless Steel)
  • ควบคุมการไหลได้ดีพอสมควร

1.3 เทเปอร์ ปลั๊ก (Taper plug) หรือ นีดเดอล์ วาล์ว (Needle Valve)

  • วัสดุที่ใช้ทำ พวกเหล็กชุบเหล็ก Satellite, เหล็ก Stainless
  • พื้นที่กันรั่ว (Seal) มาก
  • นิยมใช้กับประเภท งานปรับชนิดละเอียด งานความดันสูงแต่ปริมาณการไหลต่ำ และงานควบคุมการไหลที่ต้องการความแน่นอนสูง
2. Double-Port Globe Valve
  • วาล์วชนิดนี้จะมี Seat 2 ชุด เพื่อไม่ให้ Packing ต้องรับความดันสูงขณะปิด
  • การใช้งานวาล์วประเภทนี้ต้องพิถีพิถันสูง เพราะบดยากซ่อมยากและหากปิดแน่นเกินไปอาจทำให้รั่วได้ง่าย วาล์วชนิดนี้จะใช้งานเพื่อเบาหรือปรับควบคุมอย่างเดียวห้ามใช้เป็นวาล์วตัดตอน
  • มีความดันสมดุลระหว่าง Port ทั้ง 2 ดังนั้นวาล์วยิ่งเล็กต้องใช้ Actuator ปรับได้ละเอียด ในกรณีเปลี่ยนรูปร่างของ Plug จะได้สภาพและปริมาณการไหลแตกต่างกันไป
  • ออกแบบให้เปิดได้อย่างรวดเร็ว (Quick Opening) ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการเบาหรือปรับ และให้อัตราการไหลเป็นอัตราส่วนตรงกับการเปิด (Linear) แต่กับงานพวกอุณหภูมิและความดันสูง Plug มักจะร้าวได้ง่ายเนื่องจากรูปร่างไม่เหมาะสมจึงเป็นจุดออ่อน

การตรวจสอบโกลบวาล์ว (How to Inspect Globe Valve)

1. ตรวจสอบภายนอกของ Globe Valve ว่ามีอาการรั่วที่ก้านวาล์ว หรือไม่
2. ตรวจสอบก้านวาล์วของ Globe Valve ในขณะเปิดสุด โดยให้สังเกตว่า
  • ก้านวาล์ว คด, งอผุกร่อนเป็นคราบรอยขุดขีดกินลึกหรือไม่
  • ดูเกลียวก้านวาล์ว และเกรียวที่ Power Nut ว่าเสียหายหรือไม่
3. ตรวจสอบ สตัด (Stud) ที่ตัวกวด Packing (Gland Follower) และตรวจว่ามีระยะห่างเหลือจาก Stuffing Box เท่าไร
4. ถ้าขณะวาล์ว ปิดสนิทยังมีการไหลได้ แสดงว่าหน้าวาล์วของ Globe Valve รั่ว
5. เวลาถอดให้เขียนขั้นตอนไว้ เวลาประกอบจะได้ทำกลับไปหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
6. การตรวจสอบสภาพภายใน (Internal condition) ให้ดูและสังเกตสิ่งต่อไปนี้
  • พื้นที่บริเวณ Seat ที่ใช้ในการปิด
  • ตรวจสอบรอยกัดอันเนื่องมาจากวาล์วรั่วที่ Disc และ Seat (Wire Drawing)
  • การสึกกร่อนอันเนื่องมาจากการลดความดัน (Cavitation) ที่ Valve Body และ Bonnet
7. Wire Drawing เกิดจากของไหลผ่านหน้า Disc และ Seat ในอัตราความเร็วประมาณ 700 ฟุตต่อวินาที (เร็วกว่าเสียง) จะทำให้ Globe Valve รั่ว
8. Cavitation เกิดจากการลดความดันผ่านหน้า Disc และ Seat มากเกินไปทำให้เกิดสภาพการปั่นป่วนอันทำใหเกิดการกัดกร่อนเนื้อโลหะไม่ว่าจะเป็น Disc, Seat หรือ Body, Bonnet